สยอง
การตามหาเพื่อนใหม่ในมหาลัยแห่งนี้ คงไม่จำเป็นกับฉันอีกต่อไป ถ้าลมหายใจกำลังจะไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
ผู้เข้าชมรวม
1,494
ผู้เข้าชมเดือนนี้
2
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ขั้นตอนการผลิตรายการโทรทัศน์
The stages of video production
โดยทั่วไปการผลิตรายการโทรทัศน์จะใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 90 วัน ตั้งแต่เริ่มมีแนวคิดจนถึงสิ้นสุดการผลิต แต่ระยะเวลาการผลิตนี้ก็ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเรื่อง รายละเอียดที่ลึกซึ้งของการถ่ายทำ รวมทั้งระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลในการจัดทำบทถ่ายทำ เมื่อมีความต้องการผลิตรายการ ผู้ดำเนินการจะมอบหมายให้บุคคลผู้หนึ่งซึ่งเรียกว่า Producer เข้ารับผิดชอบ ซึ่งเขาจะทำหน้าที่จัดวางแผนตารางการทำงาน จัดการประชุมหารือก่อนการถ่ายทำ (preproduction planning meeting) Producer จะประสานงานกับเจ้าของงานผู้ว่าจ้างผลิต ติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดในการถ่ายทำ
ขั้นตอนการผลิตรายการและสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์
ขั้นตอนพื้นฐานสำหรับการผลิตรายการหรือสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้
Preproduction consultation: เป็นขั้นตอนเริ่มต้นของกระบวนการในระบบ คือการรับเรื่องราว สาระข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือรายการจากลูกค้า และขอทราบความต้องการของลูกค้า วัตถุประสงค์ กลุ่มผู้ชมเป้าหมาย ความยาวของสื่อ และรูปแบบของรายการที่ต้องการ
Approach or outline development: เป็นขั้นตอนของการกำหนดขอบเขตของเรื่อง ซึ่งจะเขียนเป็น treatment ขึ้นมาหรือนำเสนอด้วยวาจาต่อลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าอนุมัติแนวคิดนี้
Scripting: เป็นขั้นตอนในการเขียนบทถ่ายทำสมบูรณ์แบบ เพื่อให้ลูกค้าอนุมัติบทถ่ายทำนั้น
Storyboarding or blocking: storyboard เป็นรูปแบบของบทถ่ายทำอีกลักษณะหนึ่งที่มีภาพประกอบชัดเจนขึ้น ซึ่งลูกค้าและ producer จะทำความเข้าใจร่วมกันและอนุมัติ storyboard นั้น
Shooting or image acquisition: เป็นขั้นของการถ่ายทำ หรือบันทึกภาพตามบทถ่ายทำ ในสถานที่จริง
Editing/Post production: เป็นขั้นของการดำเนินการหลังการถ่ายทำซึ่งกระทำใน studio งานที่สำคัญในส่วนนี้คือการตัดต่อ (editing) ซึ่งเป็นการตัดต่อและดำเนินการทั้งpictures, sound, narration, graphics, animation, และ special effects รวมเข้าด้วยกัน ในขั้นตอนนี้ลูกค้าอาจจะเข้าร่วมด้วยได้ หรือจะชมเมื่อกระบวนการ post production เสร็จสิ้นแล้วก็ได้
Audio/Voice narration recording: ขั้นตอนการบันทึกเสียงคำบรรยาย ซึ่งจะใช้นักให้เสียงอาชีพ รวมทั้งการประกอบเสียงประกอบต่างๆ สำหรับรายการนั้น
Music/Sound effects/sweetening: เป็นขั้นของการประกอบดนตรี ซึ่งอาจจะเป็นการทำดนตรีขึ้นมาใหม่โดยนักแต่งเพลง เรียบเรียงเสียงประกอบ หรืออาจจะใช้ดนตรีประกอบที่ได้ทำไว้แล้วก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มีอยู่ รวมทั้งลักษณะรายการที่ต้องการดนตรีเฉพาะหรือเไม่เพียงใด
Review/Evaluation and approval: ขั้นของการให้ลูกค้าชมชิ้นงาน และอนุมัติหากเป็นที่พึงพอใจ
Duplication and distribution: เมื่อชิ้นงานนั้นได้รับการอนุมัติจากเจ้าของงานแล้ว จะทำสำเนาและแจกจ่ายออกไป ซึ่งอาจจะส่งสถานีโทรทัศน์ หรือแจกจ่ายไปตามกลุ่มเป้าหมายต่างๆ
บทโทรทัศน์ Video Script
Video Script เป็นผลรวมหรือผลผลิตที่ประกอบด้วย Concept Structure Content Style Format Opening และ Closing การพินิจพิจารณาไตร่ตรองให้ดีในแต่ละองค์ประกอบจะส่งผลให้ Video Script นั้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและบรรลุเป้าหมาย องค์ประกอบข้างต้นรวมกับ การเปิดเรื่องที่จับความสนใจของผู้ชม และปิดเรื่องที่สรุปรวมทุกอย่างไว้ได้ จะเป็น Video ที่ประสบผลสำเร็จในการสร้างเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม
Concept คือกลไกตัวสำคัญที่เราจะใช้ในการบอกเรื่องราวแก่ผู้ชม
Structure คือวิธีการหรือแนวทางที่เราจะใช้บอกเรื่องราวนั้นแก่ผู้ชมในแต่ละกรณีไป โดยพื้นฐานแล้ว Structure ประกอบด้วย
1.Beginning
2.Middle
3.End
หากเป็น video ที่เป็นการให้ข้อมูลหรือ Information Video โครงสร้างอาจจะเป็นดังนี้
1.Introduction
2.Features
3.Testimonials
4.Call for Action
5.Conclusion
Content คือ เนื้อหาอะไรที่จะบรรจุลงใน script ซึ่งตรงนี้จะต้องมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายที่ทำ video นี้ด้วย
Style คือส่วนที่เกี่ยวข้องกับสีสันและความรู้สึกอารมณ์ที่ปรากฏของ Video หรืออาจเรียกว่า Tone and look แบบอย่างหรือ style ที่เห็นใช้กันอยู่เช่น
1.News Documentary Video magazine
2.MTV Docudrama Commercials
3.Infomercial
Format รูปแบบของ script ที่เขียนขึ้นมาต้องให้มีลักษณะสนองเป้าหมาย 2 อย่างคือ ประการแรกให้อ่านได้ง่าย เข้าใจง่าย และประการที่สองให้เป็นพิมพ์เขียวของการถ่ายทำ การใส่รายละเอียดลงไปใน script มากๆ ทำให้รกหูรกตามากกว่าทำให้การผลิตง่ายขึ้น การเขียนเป็น 2 คอลัมน์ คือส่วนของ audio และ video ให้มีความสัมพันธ์กันในแนวเดียวกัน เรียงกันเรื่อยไป เป็นรูปแบบที่ใช้กันมาก ในส่วนของภาพจะลงรายละเอียดมากมายเพียงใด ? ในส่วนนี้ producers ที่เชียวชาญจะดูที่คำบรรยายหรือส่วนเสียงมากกว่า เขาต้องการเพียงรายละเอียดด้านภาพเพียงกว้างเท่านั้น การแสดงความคิดออกมาเป็นภาพ (visualization) เป็นสิ่งที่ producer จะกำหนดเอง
Opening เป็นส่วนที่สำคัญและมีความหมายที่สุดใน script หากทำ video ความยาวสัก 10 นาที จะให้เวลาสำหรับ opening 30 45 sec. ที่จะใช้นำเรื่องเพื่อให้รู้ถึงเนื้อหา แนวคิด และจับความสนใจของผู้ชมไว้
Closing การปิดเรื่องเป็นสิ่งที่ยากเช่นกัน เราจะพบเห็นเสมอในลักษณะที่ จบไม่ลง หลายครั้งที่เราพบว่า video นั้นใช้ การหยุดภาพ แล้วขึ้น credit title แต่ในทาง การนำเสนอเพื่อการส่งเสริมการขายหรือโฆษณา ต้องปิดให้ได้ในลักษณะเปลี่ยนให้ ผู้ชม เป็น ผู้ที่เชื่อถือ 2
ข้อควรคำนึงในการเขียนบทโทรทัศน์
ก่อนลงมือเขียน script ใดๆ ไม่ว่าจะเป็นสารคดีหรือ spot ผู้เขียนจะต้องตอบคำถาม 7 ข้อ ซึ่งเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นหน้าแรกสำหรับ business video script คำตอบที่ได้จะป็นประโยชน์อย่างมากต่อการสร้างสรรค์ video คำถามเหล่านี้คือ 3
1. Who will watch this video? For how long?
3. What is the goal of this video?
4. Will printed materials accompany the video?
5. How will the video be distributed?
6. Will the video be shown in other countries?
7. Will the video need to be regularly updated because of changing technology or products?
รูปแบบ script
รูปแบบ script สำหรับการถ่ายทำรายการโทรทัศน์ แบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่
3.3.1 full script เป็น script ที่ประกอบด้วยบทสนทนา คำบรรยาย และเสียงประกอบอื่นๆ รวมทั้งข้อกำหนดด้านภาพทั้งหมดที่ต้องการให้เกิดขึ้น full script จึงเป็นบทถ่ายทำที่มีความละเอียดสมบูรณ์มากที่สุด
3.3.2 semi script ประกอบด้วย รายละเอียดที่จำเป็นด้านเทคนิค เช่นเกี่ยวกับ graphic เสียงประกอบ แต่จะไม่รวมคำบรรยายและบทสนทนาอย่างสมบูรณ์ script ลักษณะนี้จะใช้เพื่อการนำเสนอ หรือเพื่อการบรรยายเท่านั้น
3.3.3 show format script เป็นรูปแบบ script ง่าย ๆ ที่ระบุเฉพาะส่วนที่จำเป็นและสำคัญในการถ่ายทำเท่านั้น script ลักษณะนี้ใช้ประกอบการบรรยาย หรือประเภท variety show เท่านั้น ซึ่งจะบอกลำดับของเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะนำเสนอ ผุ้ดำเนินรายการจะดำเนินรายการไปตามลำดับที่กำหนดไว้ รายละเอียดที่ระบุใน script แบบนี้จะมีเพียงคร่าวๆ เช่นระบุคำถามที่ผู้ดำเนินรายการจะถามผู้ร่วมรายการ ซึ่งคำตอบที่ชัดเจนจะไม่มีการเขียนลงไว้
3.3.4 rundown or fact sheet รูปแบบ script แบบนี้จะประกอบด้วยรายละเอียดที่จะต้องนำเสนอในรายการ พร้อมกับส่วนที่เป็นจุดสำคัญ script แบบนี้ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการลงเสียงบรรยาย
Storyboards
storyboard ประกอบด้วยชุดของภาพ sketches ของ shot ต่างๆ พร้อมคำบรรยาย หรือบทสนทนาในเรื่อง จุดประสงค์ประการแรกสำหรับการสร้าง storyboard ก็คือช่วยให้ producer และผู้กำกับ รวมทั้งเจ้าของสินค้าได้เห็นภาพของรายการที่จะถ่ายทำเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นได้ในแต่ละ shot ที่จะดำเนินการ การสร้าง storyboard ถือเป็นเรื่องของการสร้างสรรค์ (creative) อันเป็นเรื่องสำคัญสำหรับนักโฆษณา ที่จะต้องสร้างสรรค์ออกมา และขายความสร้างสรรค์นั้นแก่ลูกค้าซึ่งเป็นเจ้าของงานให้ได้
วิธีการที่ดีที่สุดในการจัดทำ storyboard ก็คือการ sketches ภาพก่อน โดยพยายามเล่าเรื่องให้ได้มากที่สุด แล้วจึงเพิ่มคำบรรยายที่จำเป็นลงไป สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือภาพและเสียงต้องให้ไปด้วยกันได้ และในส่วนเสียงนั้น มิใช่มีแต่เพียงคำบรรยาย บทสนทนา ดนตรี เสียงประกอบ ก็ล้วนเป็นส่วนของเสียงด้วยทั้งสิ้น
วิธีการที่จะสร้าง Storyboard สำหรับการผลิตรายการโทรทัศน์ อาจสรุปเป็นขั้นตอนและข้อพิจารณาดังต่อไปนี้คือ
การสเกตภาพออกมา โดยพยายามให้ภาพนั้นเล่าเรื่องราวให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
พิจารณาไล่เรียงอย่างละเอียด แล้วเพิ่มบทพูด หรือคำบรรยายเข้าไปเท่าที่จำเป็น
บทพูดหรือคำบรรยาย พยายามให้กระชับที่สุด และให้เป็นภาษาพูดจะดีกว่า
พิจารณาดูให้ดีว่า บทพูดกับภาพที่ปรากฏ เสริมซึ่งกันและกัน หรือไปด้วยกันได้
ต้องระลึกเสมอว่า ในส่วนของเสียงใน Storyboard นั้น มิใช่จะสร้างสรรค์แต่เพียงคำพูด หรือบทบรรยายเท่านั้น หากแต่จะต้องสร้างให้รวมดนตรีและเสียงประกอบไปด้วย
สำหรับการผลิตรายการที่สั้นๆ อย่าง spot โฆษณา เราสามารถถ่ายทำโดยใช้ Storyboard เป็นหลักได้เลย โดยมิต้องดูหรือสร้าง Script ขึ้นมา เพราะ Script ก็รวมอยู่ใน Storyboard แล้ว
รูปแบบของ Storyboard จะประกอบไปด้วยสองส่วน คือส่วนเสียง กับ ภาพ ดังรูปต่อไปนี้
บทบรรยาย (Narration)
บทบรรยายสำหรับรายการโทรทัศน์ จะเป็นส่วนสนับสนุนการนำเสนอภาพ มิใช่การนำเสนอบทบรรยายนั้น ความยาวของของคำบรรยายมีหลักการในการพิจารณาจัดทำใน 3 หลักการต่อไปนี้คือ
- ต้องเหมาะสมกับลักษณะของผุ้ชม
- ต้องมีความยาวพอที่จะครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่กำหนด แต่ต้องให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
ถ้ารายการที่จะทำต้องใช้การบรรยายแบบ voice over โดยไม่ปรากฏภาพผู้บรรยายเลย ก็ควรให้มีภาพของผู้บรรยายปรากฏขึ้นในตอนเริ่มรายการก่อน จะทำให้รายการดูเป็นกันเองมากขึ้น และถ้ารายการยาวมาก การใช้ผู้บรรยายมากกว่า 1 คนจะช่วยลดความน่าเบื่อหน่ายจำเจของรายการลงได้ เสียงบรรยายไม่จำเป็นต้องมีอยู่ตลอด ควรทิ้งช่วงโดยใช้ดนตรีและเสียงประกอบอื่นด้วย
การเขียนบทบรรยาย (Writing Narration)
หลักการเขียนบทบรรยายให้พึงระลึกเสมอว่า เป็นการเขียนอย่างที่พูด มิใช่เขียนอย่างการเขียน (write as we speak, not as we write) ผู้บรรยายทำการสนทนากับผู้ชมในลักษณะทางเดียว ดังนั้นจึงควรเขียนบทบรรยายในลักษณะการสนทนากับผู้ฟังในลักษณะดังต่อไปนี้
- ใช้ประโยคสั้นๆ
- ใช้ประโยคที่มีความสมบูรณ์
- ใช้ภาษาพูด เพราะเรากำลังสนทนากัน
- ใช้คำที่เป็นกันเอง โดยเรียกผู้ชมว่า คุณ
- ไม่ใช้คำพูดว่า ต่อไปนี้คุณจะได้เห็น หรือ ให้สังเกตบนจอขณะนี้
- ไม่ใช้คำว่า จบแล้ว
3P กับการผลิตรายการโทรทัศน์
ในการผลิตรายการโทรทัศน์นั้น หากมีการวางแผนเตรียมการในทุกขั้นตอนไว้เป็นอย่างดีแล้ว ก็จะทำให้สามารถผลิตรายการได้อย่างราบรื่น และสำเร็จลุล่วงตามแผนที่วางไว้ ซึ่งในตอนที่ผ่านมาได้กล่าวถึงการผลิตรายการโทรทัศน์ตามขั้นตอน 3P และP1 การเตรียมงาน (Pre-production) ไปแล้ว ดังนั้นในตอนนี้ก็จะกล่าวถึง P2 การผลิตรายการ (production) และP3 การตัดต่อ (Post-production) กันต่อไป
P2 = การผลิตหรือถ่ายทำ (Production)
ขั้นตอนนี้คือการนำแผนที่คิดไว้มาปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งก็คือการผลิตหรือถ่ายทำนั่นเอง และในการผลิตหรือถ่ายทำนั้น ก็ควรเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับรูปแบบของรายการ ซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้
1.รายการถ่ายทำในสถานที่ (Studio Production) มีข้อดีคือ สามารถควบคุมแสง เสียง และจัดตกแต่งฉากได้โดยไม่ต้องกังวลกับสภาพดินฟ้าอากาศ ทำให้สามารถถ่ายทำได้รวดเร็ว เพราะส่วนใหญ่จะใช้กล้องในการถ่ายทำไม่น้อยกว่า 3 กล้อง จึงทำให้ถ่ายทำได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีลำดับขั้นตอนในการทำงาน ดังนี้
1.1.จัดทำฉาก ตกแต่งตามฉากที่ได้ออกแบบไว้
1.2.จัดแสง จัดให้ได้ตามบทแะสภาพของฉาก
1.3.จัดติดตั้งไมโครโฟน จัดตามจำนวนและจุดที่กำหนด
1.4.จัดวางตำแหน่งกล้อง จัดตามจุดที่กำหนดและทิศทางการเคลื่อนย้ายกล้องเพื่อเปลี่ยนมุมและขนาดของภาพ
1.5.ซักซ้อมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน โดยทำการซักซ้อมให้เหมือนกับการทำรายการจริง
1.6.ลงมือถ่ายทำ ในระหว่างที่บันทึกรายการ (ไม่ใช่รายการสด) หากไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม จะต้องสั่งหยุด (Cut) ทันที และเมื่อถ่ายทำจบแล้ว ควรถ่ายภาพไว้เผื่อแก้ไข (Insert) หรือเรียกว่า ภาพ Cut-away
2.การถ่ายทำนอกสถานที่ (Outdoor Shooting) แบ่งได้ 3 รูปแบบ คือ
2.1.แบบใช้กล้องเดี่ยว เรียกว่า "ชุด ENG" (Electronic News Gathering) มีลักษณะที่ตัวกล้องกับเครื่องบันทึกเทปประกอบติดกัน โดยมีทั้งแบบถอดแยกส่วนได้ (Dockable) และแบบที่ประกอบเป็นชิ้นเดียว (One-piece/Camcorder) ซึ่งเหมาะกับงานถ่ายทำที่ต้องการความคล่องตัว สะดวก และรวดเร็ว ใช้ทีมงานเพียง 2-3 คน อาทิเช่น การถ่ายทำข่าว การถ่ายทำสารคดี เป็นต้น
2.2.แบบใช้กล้องมากกว่าหนึ่งกล้อง เรียกว่า" ชุด EFP."(Electronic Field Production) ใช้อุปกรณ์คล้ายกับการถ่ายทำในห้องสตูดิโอ (Studio) โดยใช้กล้องตั้งแต่ 2 กล้องขึ้นไป แต่ไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ตายตัว สามารถเคลื่อนย้ายได้ตามโอกาส และสภาพการใช้งาน เหมาะกับการถ่ายทำรายการสนทนา สาธิต อภิปราย เป็นต้น ที่มีการถ่ายทำนอกสถานที่ตามเหตุการณ์จริง จึงมีลักษณะการทำงานผสมผสานแบบการผลิตรายการในสตูดิโอ (Studio) และการผลิตรายการนอกสถานที่ (Outdoor Shooting) ชุด
2.3.แบบใช้รถโมบาย (Mobile Unit) ใช้อุปกรณ์ระบบต่าง ๆ คล้ายในห้องผลิตรายการ (Studio) และชุด EFP. ติดตั้งไว้บนรถยนต์ สามารถเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่เกิดเหตุการณ์ได้ การผลิตรายการโดยรถโมบาย (Mobile) เป็นการบันทึกเทปแล้วจึงนำมาตัดต่อในภายหลัง แต่ถ้าเป็นการถ่ายทอดสด เช่น การแข่งขันกีฬา งานราชพิธี เป็นต้น จะต้องมีชุดส่งสัญญาณไปยังสถานีแม่ข่าย เพื่อส่งเผยแพร่รายการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ในเวลาจริง เราเรียกรถถ่ายทำนี้ว่า "รถโอบีแวน (OB.Van : Outside Broadcast Van)
P3 = การตัดต่อรายการ (Post-production) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ความสำคัญมาก ดังนั้นจึงต้องพิถีพิถันทั้งทางด้านเทคนิค และศิลปะ โดยมีลำดับการทำงานดังนี้
1.ตัดต่อแบบ " Off Line "เป็นการตัดต่อที่ไม่เน้นเทคนิค และคุณภาพ แต่ตัดต่อเพื่อความต่อเนื่องให้ตรงกับเนื้อหาตามบทเท่านั้น โดยใช้อุปกรณ์ได้ 2 แบบ คือ
1.1.อุปกรณ์แบบ "Non-Linear" เป็นการตัดต่อด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยถ่ายสัญญาณข้อมูลภาพ และเสียงลงในหน่วยความจำ (Hard Disk) จากนั้นจึงตัดต่อเลือก Shot โดยมีรายละเอียด Time Code (TC.) ไว้ เพื่อจัดทำเป็น EDL. (Edit Descision List) สำหรับเป็นข้อมูลตัดต่อแบบ Online ต่อไป
1.2.อุปกรณ์แบบ "Linear" คือ ระบบแบบบเดิมที่ใช้เครื่อง "Video Tape" ตัดต่อธรรมดาแบบ "Cut to Cut" ตัดเพื่อเลือกดู Shot ที่ต้องการและ TC. เพื่อเป็นตัวอย่างในการตัดต่อแบบ Online ที่สมบูรณ์ต่อไป
2.ตัดต่อแบบ "On Line"
ผลงานอื่นๆ ของ aloneboy ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ aloneboy
ความคิดเห็น